วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพ

หลักการทำงานพื้นฐานของกล้องถ่ายภาพ คือการที่แสงสะท้อนจากวัตถุ เดินทางเป็นเส้นตรงผ่านช่องเล็ก ของกล่องสี่เหลี่ยม เกิดภาพของวัตถุบนฉากรองรับด้านตรงกันข้ามเป็นภาพหัวกลับ อันเป็นหลักการของการสร้างรูเข็มในสมัยโบราณ กล้องถ่ายภาพได้พัฒนามาโดยลำดับ เช่น มีการนำเอาเลนส์นูนไปติดตั้งที่ช่องรับแสงที่มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยรวมแสงให้เข้าไปในตัวกล้องให้มากขึ้น ทางด้านตรงกันข้ามของเลนส์ เป็นตำแหน่งที่ตั้งวัสดุไวแสงหรือฟิล์ม สามารถปรับตัวเลนส์ เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนบนฟิล์มได้ มีการติดตั้งไดอะแฟรมปรับให้เกิดช่องรับแสงขนาดต่าง ๆ รวมทั้งมีส่วนที่เรียกว่า ชัตเตอร์ ทำหน้าที่ควบคุมเวลาในการเปิด – ปิดม่าน เพื่อให้ปริมาณแสงตกกระทบ กับฟิล์มตามความเหมาะสม และยังมีช่องเล็งภาพเพื่อช่วยในการจัดองค์ประกอบของภาพถ่ายให้เกิดความสวยงาม

กล้องถ่ายภาพในปัจจุบัน มีการประดิษฐ์รูปแบบให้มีลักษณะภายนอกและกลไกภายใน ให้มีส่วนอำนวยความสะดวกแก่ผู้ถ่ายภาพมากยิ่งขึ้น มีกล้องถ่ายภาพทั้งระบบปรับธรรมดา ระบบกึ่งอัตโนมัติ และระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป

ส่วนประกอบและการทำงานของดวงตามนุษย์กับกล้องถ่ายภาพจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยมีส่วนสำคัญแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ

1. ส่วนที่ทำให้เกิด ทั้งดวงตาและกล้องถ่ายภาพจะมีส่วนที่เป็นเลนส์ ในดวงตาของมนุษย์ก่อนที่แสงจะตกกระทบเลนส์ต้องผ่ายชั้นของเยื่อโปร่งใส เรียกว่า คอร์เนีย (Cornea) ทำหน้าที่ช่วยเลนส์ในการหักเหแสงให้ภาพตกลงบนจอตาพอดี เลนส์ของกล้องถ่ายภาพดี มีระบบกลไกเปิด – ปิด ให้แสงผ่านเข้าไปยังฉากหลังควบคุมเวลาด้วยชัตเตอร์ (Shutter) ส่วนดวงตาควบคุมด้วยหนังตา (Eyelid) ในส่วนหนึ่งของเลนส์ถ่ายภาพจะมีไดอะแฟรม (Diaphragm) สามารถปรับให้เกิดช่องรับแสง (Aperture) ขนาดต่าง ๆ เช่นเดียวกับดวงตา จะมีส่วนที่เรียกว่า ม่านตา (Lris) ซึ่งจะมีสีต่าง แล้วแต่เชื้อชาติ เช่น สีดำ สีฟ้า สีน้ำตาล เป็นต้น ตรงกลางของม่านตาจะมีช่องกลมเรียกว่า ม่านตา หรือ พิวพิล (Pupil) เป็นทางให้แสงผ่าน สามารถปรับให้มีขนาดต่าง ๆ กัน โดยอัตโนมัติ เช่นในที่ ๆ มีแสงสว่างมาก รูม่านตาจะปรับให้มีขนาดเล็ก ส่วนในที่ ๆ มีแสงสลัว รูม่านตาก็จะปรับให้มีขนาดกว้างขึ้น

1. ส่วนที่ไวแสง ได้แก่ ส่วนที่เป็นฉากหลังในกล้องถ่ายภาพจะเป็นตำแหน่งที่ตั้งวัสดุไวแสง ได้แก่ ฟิล์มส่วนในดวงตา ได้แก่ จอตาเป็นฉากรับภาพ เรียกว่า เรตินา (Retina) ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานประสาท ประกอบด้วยเส้นประสาทไวต่อแสง และเชื่อมโยงไปยังส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับความรู้สึก เกี่ยวกับการมองเห็น ทำให้ทราบถึงรูปร่าง ขนาด ลักษณะของพื้นผิว

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น