วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

กล้อง 35 มม.

กล้องชนิดนี้ใช้ฟิล์มขนาด 35 มม. เป็นกล้องที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง มีความคล่องตัวในการใช้งาน ให้ประโยชน์ครอบคลุมได้มาก มีประสิทธิภาพในการใช้งานสูง มีระบบการทำงานแตกต่างกันออกไป แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

3.1 กล้อง 35 มม. ชนิดคอมแพค (Compact cameras)

เป็นกล้อง 35 มม. ที่มีรูปร่างเล็ก กะทัดรัด น้ำหนักเบา ถือไปมาสะดวก ใช้ง่าย ผู้ถ่ายภาพเพียงแต่จัดองค์ประกอบ ยกกล้องขึ้น เล็งแล้วกด (Point and shoot) ก็จะได้ภาพตามต้องการ กล้อง 35 มม. คอมแพคชนิดธรรมดาจะมีราคาค่อนข้างต่ำ เพียงไม่กี่ร้อยถึงพันบาทขึ้นไป เป็นกล้องที่มีเลนส์ทางยาวโฟกัสเดียว มีระยะโฟกัสคงที่หรือออโต้โฟกัสหลายระดับ สามารถบันทึกภาพได้ชัดตั้งแต่ระยะใกล้สุดถึงไกลสุด บางกล้องจะมีที่ปรับระยะได้เพียง 3 ระยะ คือ ระยะใกล้ ระยะปานกลางและระยะไกลสุด เลนส์จะมีลักษณะเป็นเลนส์มุมกว้าง 35 มม. หรือ 28 มม. มีขนาดช่องรับแสง f/11 หรือ f/16 และความเร็วชัตเตอร์เพียงขนาดเดียวซึ่งมักใช้ 1/60 หรือ 1/125 วินาที เหมาะสำหรับใช้กับฟิล์มความไวแสง 200 ISO ไม่สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ มีระบบมองภาพโดยตรง (Viewfinder camera) ช่องเล็งภาพของกล้องชนิดนี้มีไว้ เพื่อมองลักษณะของภาพที่จะถ่ายให้เหมาะสมอยู่ในกรอบภาพเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการปรับหาระยะความชัดของเลนส์ถ่ายภาพ แต่อย่างใด

กล้องถ่ายภาพ 35 มม. คอมแพคบางกล้องมีระบบปรับระยะชัดได้ (Rangefinder camera) โดยที่ช่องเล็งภาพของกล้องแบบนี้ ทำงานสัมพันธ์กับการปรับระยะชัดของเลนส์ถ่ายภาพ เมื่อมองที่ช่องเล็งภาพ ภาพที่ยังไม่ได้ระยะความชัด จะมองเห็นเป็นภาพเงาเหลื่อมซ้อนกันอยู่ ผู้ถ่ายภาพจะต้องปรับที่เลนส์ให้ภาพที่เป็นเงาเหลื่อมซ้อนกันอยู่นั้น ทับกันสนิท จึงจะได้ภาพชัดเจน เช่น กล้อง Nikon 35 Ti แมนนวลโฟกัส และ Konica kexar ออโต้โฟกัส เป็นต้น

ในปัจจุบันระบบการทำงานของกล้อง 35 มม. คอมแพค ส่วนใหญ่จะเป็นแบบอัตโนมัติทั้งหมด เช่น ระบบโฟกัสภาพ ระบบใส่ฟิล์ม เดินฟิล์ม กรอฟิล์ม กลับ ระบบตั้งความไวฟิล์ม ระบบวัดแสงและบันทึกภาพ ควบคุมด้วยระบบโปรแกรม โดยปรับความเร็วชัตเตอร์ และช่องรับแสงอัตโนมัติและมีแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ติอยู่ในตัวกล้อง ทำให้การถ่ายภาพสะดวกและแม่นยำมากขึ้น

ในกล้องคอมแพคซูมที่สามารถเปลี่ยนระยะทางยาวโฟกัสได้ เช่น 35 – 70 มม., 28 – 100 มม., 38 – 150 มม. เป็นต้น มีระบบการทำงานที่เหนือกว่ากล้องคอมแพคธรรมดามาก บางครั้งมักเรียกว่ากล้อง ซุปเปอร์คอมแพค ในหลายรุ่นจะมีปุ่มมาโคร สำหรับถ่ายภาพในระยะใกล้ ระบบออโต้โฟกัส เลือกโฟกัสเฉพาะจุด มีแสงไฟเตือน ซูมเลนส์แบบพาวเวอร์ มีโปรแกรมถ่ายภาพประกอบต่าง ๆ เช่น ภาพทิวทิศน์ ภาพคน ถ่ายภาพซ้อน แฟลชแก้ตาแดง แฟลชลบเงา สัมพันธ์แฟลชกับความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ถ่ายภาพมุมกว้าง หรือพาโนรามา สามารถตั้งเวลาในการบันทึกภาพ ฝาหลังบันทึกวัน เวลา แสดงผลข้อมูลการถ่ายภาพทางจอ LCD ทางด้านหลังของกล้อง ตัวอย่างกล้อง 35 มม. ซุปเปอร์คอมแพค เช่น Canon prima super 115, Olympus super zoom 120, Konica hezar, Contax TVS, Nikon zoom 700 VR, Minolta riva zoom 135 EX, Pentax espio 140, Canon SURE SHOT 150 u และ Leica CM เป็นต้น

3.2 กล้อง 35 มม. แบบสะท้อนเลนส์เดี่ยว (Single – lens reflex camera)

กล้อง 35 มม. แบบสะท้อนเลนส์เดี่ยวหรือ เรียกว่า กล้อง 35 มม. SLR นี้นับได้ว่าเป็นกล้องยอดนิยมใช้กันแพร่หลายมากที่สุด ทั้งระดับมืออาชีพและมือสมัครเล่นโดยทั่วไป เป็นกล้องที่มีอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ อย่างครบครัน ส่วนใหญ่สามารถถอดเปลี่ยนใช้เลนส์ขนาดต่าง ๆ ได้ เช่น เลนส์มุมกว้างพิเศษ เลนส์เทเลกำลังขยายสูง รวมทั้งเลนส์ซูม เลนส์มาโคร และเลนส์พิเศษอื่น ๆ ระบบการมองภาพจะสัมพันธ์กับการปรับระยะความชัดของเลนส์ทุกขนาด ภาพที่เห็นในช่องเล็งภาพ จะมีลักษณะเหมือนกับมุมการรับภาพจากเลนส์ทุกประการ เมื่อมองที่ช่องเล็งภาพ แสงจะสะท้อนจากวัตถุผ่านเลนส์เข้ากล้องสู่กระจกเงาที่วางเฉียง 45 องศา สะท้อนภาพ ผ่านไปยังแก้วปริซึม 5 เหลี่ยมที่อยู่ ส่วนบนของกล้อง แล้วหักเหออกสู่สายตาทางช่องเล็งภาพ เมื่อขึ้นชัตเตอร์และกดปุ่มไกชัตเตอร์ กระจกสะท้อนภาพจะกระดกขึ้นปล่อยให้แสง ผ่านชัตเตอร์ ซึ่งจะเปิด และปิดตามระยะเวลาที่กำหนดภาพจะถูกบันทึกลงบนฟิล์ม จากนั้นกระจกสะท้อนภาพก็จะกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิม

ในกล้อง 35 มม. SLR มีเครื่องกลไกและระบบไฟฟ้าที่สลับซับซ้อนมากด้วยเทคนิคที่ก้าวหน้าดังกล่าว จึงสามารถทำให้กล้องมีระบบการทำงานที่ใช้ได้ง่าย มีประสิทธิภาพมากที่สุด มีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่อำนวยประโยชน์ในการถ่ายภาพอย่างมากมาย เช่นมี Motor drive และ Auto winder เพื่อช่วยขับเคลื่อนฟิล์มและขึ้นชัตเตอร์โดยอัตโนมัติ ในตัวกล้องจะมีโหมดสำหรับบันทึกภาพเคลื่อนไหว ใช้คำ Hi – program หรือ Action program โดยกล้องจะเลือกใช้ความเร็วสัมพันธ์กับช่องรับแสง มีโหมดเช็คระยะชัดอัตโนมัติ ระบบล็อคความจำแสง (AE lock) เช่น ต้องการถ่ายภาพคนย้อนแสง ต้องเข้าไปวัดแสงที่บริเวณใบหน้า คนใกล้ ๆ แล้วกดปุ่มล๊อคความจำแสงไว้ จากนั้นจึงถอยออกมาเพื่อจัดองค์ประกอบของภาพใหม่ ปรับระยะชัดแล้วกดไกชัตเตอร์ มีระบบตั้งความไวฟิล์มอัตโนมัติ (DX code) เพื่อป้องกันการลืมในการเปลี่ยนความไวฟิล์มเมื่อเปลี่ยนฟิล์มม้วนใหม่ ในปัจจุบัน กล้อง 35 มม. SLR มีระยยการวัดแสงรวมอยู่ภายในตัวกล้องการแสดงผลในช่องเล็งภาพมีทั้งระบบบอกความพอดีของแสง ด้วยเข็มสัญญาณตัวเลข หรือด้วยจุดสัญญาณไฟฟ้า (LED) และมีการแสดงผลด้วยจอบนตัวกล้องในระบบ LCD เป็นภาพกราฟฟิคบอกข้อมูลด้วย เช่น ความเร็วชัตเตอร์ ช่องรับแสง การชดเชยแสง จำนวนภาพ ความไวแสงฟิล์ม ระบบเตือนแฟลช พร้อม แฟลชแก้ตาแดง เตือนสัญญาณโอเวอร์ อันเดอร์ การปรับชัด ล็อคความจำซูม เตือนระบบพาโนรามา เตือนแบตเตอรี่อ่อน ฯลฯ กล้อง 35 มม. แบบสะท้อนเลนส์เดี่ยว จะมีอยู่ใน 4 ระบบ คือ

3.2.1 ระบบกลไก (Manual)

กล้อง 35 มม. แบบสะท้อนเลนส์เดี่ยระบบกลไก เป็นกล้องที่ผู้ถ่ายภาพจะต้องเลือกปรับช่องรับแสง เลือกปรับความเร็วชัตเตอร์เอง โดยมีเครื่องวัดแสงผ่านเลนส์ รวมทั้งต้องปรับระยะชัดเอง นิยมใช้กันมากในวงการศึกษาวิชาการถ่ายภาพพื้นฐาน เช่น กล้อง Pentax K – 1000, Nikon FM 2 N, FM 10, Yashica FX – 3Super 2000, Olympus OM – 3 Ti, Cosina CT-1 Super เป็นต้น

3.2.2 ระบบปรับความเร็วชัตเตอร์อัตโนมัติ (Aperture priority)

ใช้อักษรย่อ AV หรือ A เป็นระบบที่ผู้ถ่ายภาพจะเลือกปรับขนาดช่องรับแสง (Aperture) หรือเอฟสตอป (F/stop) ตามความต้องการก่อน และกล้องจะเลือกปรับระดับความเร็วชัตเตอร์ให้สัมพันธ์กัน เพื่อการรับแสงได้พอดี กล้องที่มีระบบปรับความเร็วชัตเตอร์ไปที่อักษร AV หรือ A (Auto) ระบบนี้จะให้ผลดีสำหรับงานที่ต้องการควบคุมระยะชัดลึกของภาพเป็นสำคัญ

3.2.3 ระบบปรับขนาดช่องรับแสงอัตโนมัติ (Shutter priority)

ใช้อักษรย่อ TV หรือ S ซึ่งเป็นระบบที่ผู้ถ่ายภาพจะเลือกตั้งความเร็วชัตเตอร์ก่อน แล้วกล้องจะเลือกปรับขนาดช่องรับแสงให้สัมพันธ์กันเพื่อให้ได้รับพอดี กล้องระบบนี้จะให้ผลดีสำหรับงานที่ต้องการควบคุมเกี่ยวกับความเร็วของวัตถุ ได้แก่ ภาพแสดงการเคลื่อนไหวต่าง ๆ

3.2.4 ระบบโปรแกรมสัมพันธ์อัตโนมัติ (Programmed)

ใช้อักษรย่อ P เป็นระบบที่กล้องจะเลือกปรับเอง ทั้งความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสง ผู้ถ่ายภาพเพียงตั้งความไวแสงฟิล์มให้ถูกต้อง ปรับระยะชัดแล้วกดไกชัตเตอร์ กล้องจะปรับแสงให้ถูกต้องพอดีตามสภาพแสง เป็นระบบที่กำลังได้รับความนิยมแพร่หลายในปัจจุบัน เพราะใช้ง่าย กล้องบางรุ่นจะมีระบบอัตโนมัติรวมอยู่หลายระบบเรียกว่า Multi mode คือมีทั้งระบบปรับความเร็วชัตเตอร์อัตโนมัติ ระบบปรับขนาดช่องรับแสงอัตโนมัติ และมีระบบวัดแสงปรับตั้งธรรมดารวมอยู่ด้วย เช่น Pentax Super A, Nikon PA, Canon A-1 เป็นต้น

นอกจากนี้กล้อง 35 มม. SLR บางรุ่นยังได้ เพิ่มระบบปรับความชัดอัตโนมัติ (Auto focusing) โดยใช้กับเลนส์ Auto focus (AF) เช่น Pentax Z-20, Nikon F2/AF, F4S, F50, F90X, Canon AL-1, EOS-1, EOS-100, EOS-888, EOS-5 QD, Olympus IS100, Ricoh XR-F, Sigma SA-500 SA-300 N เป็นต้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น