วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

การถ่ายภาพในเมืองไทยในยุคแรก

วิชาการถ่ายภาพ ได้พัฒนาก้าวหน้ามาโดยลำดับ โดยนักประดิษฐ์ชาวยุโรป และได้เผยแพร่กระจายไปเกือบทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยมีหนังสือเก่าเล่มหนึ่งคือ สยามประเภท ฉบับลงวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2544 กล่าวว่า เรามีช่างถ่ายรูปครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 (ร.3 ขึ้นครองราชย์ 27 ปี ระหว่าง ปี พ.ศ. 2367 – 2394)

ก.ศ.ร. กุกลาย เจ้าของหนังสือสยามประเภท ได้เขียนเล่าในหนังสือฉบับเดียวกันว่า ในครั้งนั้นพระยาไทรบุรี ได้ส่งพระบรมรูปสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถวิคตอเรีย แห่งกรุงอังกฤษ (สมัยนั้นเรียกว่า รูปเจ้าวิลาต ) ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 3 ไม่ทรงเชื่อว่าเป็นรูปถ่าย รูปชัก ทรงเห็นว่าเป็นเพียงรูปเขียนอย่างแต่ก่อนเท่านั้น

รูปเจ้าวิลาต เคยแขวนไว้ที่ห้องพระโรงพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยสมัยนั้น ปัจจุบันไม่ปรากฏว่าได้พบรูปดังกล่าว

สำหรับช่างถ่ายรูปยุคแรก ในรัชกาลที่ 3 นั้น ก.ศ.ร. กุหลาบ ได้เขียนเล่าต่อว่า ...เพิ่งมามีช่างภาพรูปครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 นั้นคือ ท่านสังฆราชฝรั่งเศสชื่อ ปาเลอกัว เป็นผู้ถ่ายรูปแผ่นเงินในกรุงสยามก่อนมนุษย์ที่ 1 ภายหลังพระยากระสาปน์กิจโกศล (โหมด) แต่ยังเป็นมหาดเล็กอยู่นั้น ได้ถ่ายรูปเป็นครั้งที่ 2 เป็นเศษสังฆราชด้วย พระยากระสาปน์กิจโกศล (โหมด) ผู้นี้เป็นช่างชุบเงินทองก่อนมนุษย์ทั้งสิ้นในแผ่นดินสยาม เป็นผู้รู้วิชากะไหล่แช่ชุบเงินทองก่อนชาวสยามทั้งสิ้น ภายหลังพระปรีชากลการ (สำอาง) เป็นช่างภาพรูปครั้งที่ 3 ภายหลังหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร) เป็นช่างถ่ายรูปครั้งที่ 4

ในปัจจุบันเชื่อกันว่า สังฆราชปาเลอกัว ชาวฝรั่งเศส เป็นช่างถ่ายรูปคนแรกในประเทศไทยในรัชกาลที่ 3 เพราะจากหนังสือ เล่าเรื่องเมืองสยามที่ท่านเขียนขึ้นและพิมพ์ที่ปารีส พ.ศ. 2397 มีรูปวาดลายเส้นประกอบเกือบ 20 รูป แต่ละรูปวาดได้เหมือนจริงไม่ผิดเพี้ยน เช่น รูปผู้หญิงไทยไว้ผมจุกปักปิ่น รูปชายไทยไว้ผมมหาดไทย รูปวัดเทพธิดาราม รูปพระปรางค์วัดอรุณ รูปเด็กชายชม และแก้วที่ท่านสังฆราชพาไปเรียนที่ฝรั่งเศส ฯลฯ ซึ่งน่าจะวาดจากต้นฉบับที่เป็นรูปถ่ายรวมทั้งมีเรื่อง ถ้ำมอง (Optique) ที่มีภาพอยู่ข้างในเป็นอุปกรณ์ในการเผยแพร่ศาสนา ทำให้มีผู้คนให้ความสนใจมาก

สำหรับคนไทยที่เป็นช่างถ่ายรูปคนแรกนั้น คือ พระยากระสาปน์กิจโกศล หรือนายโหมด ต้นตระกูลอมาตยกุล เพราะมีชื่อเสียงในการถ่ายรูปเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป เช่น ในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง เรื่องการถ่ายรูปเมืองไทย ของ รัชกาลที่ 5 จากหนังสือกุมารวิทยา ได้กล่าวถึงชื่อนายโหมดว่าเป็นช่างภาพรูปยุคแรก ๆ ในประชุมพงศาวดารที่ 29 อธิบายเรื่องราชทูตไทยไปยุโรป โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงรงราชานุภาพ ก็ทรงกล่าวถึงนายโหมดว่า สนใจวิชาประสมธาตุศึกษา เรื่องเครื่องจักร และศึกษาเรื่องชักรูปจากฝรั่ง ในหนังสือสยามประเภท เมื่อพูดถึงสังฆราชปาเลอกัวในกรณีถ่ายรูป ก็ต้องกล่าวโยงไปถึงนายโหมดด้วยทุกครั้ง ในฐานะเป็นลูกศิษย์ ตลอดจนบทความที่ อเนก นาวิกมูล ได้รับจากสถาบันสมิธโซเนียน เมื่อปี พ.ศ.2526 ชื่อ Photography in Siam พิมพ์ในหนังสือ Philadelphia Photographer พ.ศ. 2408 ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 กล่าวถึงขุนนางที่ชื่อพระยาวิสูตรโยธามาตย์ อันเป็นบรรดาศักดิ์ของนายโหมด ก่อนจะมาเป็นพระยากระสาปน์กิจโกศลนายหลัง

บทความกล่าวว่า ครั้งหนึ่งสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งอังกฤษ ได้ส่งอุปกรณ์กล้องถ่ายรูปครบชุด ไปถวายรัชกาลที่ 4 พระยาวิสูตรโยธามาตย์ ผู้ไม่รู้ภาษาอังกฤษเลย ได้ขอให้ผู้อื่นช่วยแปลหนังสือคู่มือออกมาให้ ประกอบกับได้รับการแนะนำจากฝรั่งในคณะทูตปรัสเซีย ปรากฏว่าท่านสามารถสร้างรูปถ่ายจากกล้องถ่ายรูปชุดนั้นขึ้นมาได้สำเร็จ ซึ่งนับว่าน่าแปลกใจยิ่ง

นอกจากหนังสือและบทความต่าง ๆ ได้กล่าวถึงช่างถ่ายรูปไทยคนแรก ที่ชื่อนายโหมด หรือพระยากระสาปน์กิจโกศลแล้ว ยังได้เอ่ยถึงช่างถ่ายรูปคนอื่น ๆ อีก เช่น พระยาปรีชากลการ หรือนายสำอาง อมาตยกุล ผู้เป็นลูกชายของนายโหมด หลวงอัคนีนฤมิตร หรือนายจิตร ต้นตระกูลจิตราคนี และกรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา เป็นต้น

ช่างถ่ายรูปที่มีผลงานเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุเป็นจำนวนมากจนถึงปัจจุบันคือหลวงอัคนีนฤมิตร (ขุนสุนทรสาทิสลักษณ์) หรือนายจิตร เป็นช่างภาพหลวงในสมัยรัชกาลที่ 4 และที่ 5 นับเป็นช่างถ่ายรูปคนแรกที่ตั้งร้านถ่ายรูป รับถ่ายรูปเป็นอาชีพ เมื่อ พ.ศ. 2406 ร้านถ่ายรูปดังกล่าวตั้งอยู่ที่เรือนแพ หน้าวัดซางตาครูซ ตรงกันข้ามกับปากคลองตลาด มีผลงานปรากฏในลักษณะรูปถ่ายบุคคล ตั้งแต่ชั้นพระมหากษัตริย์จนถึงคนสามัญ และยังปรากฏรูปถ่ายสถานที่วัด วัง ตลาดจนรูปเหตุการณ์ต่าง ๆ อีกด้วย

ช่างถ่ายรูปในยุคต่อมา คือในสมัยรัชกาลที่ 5 มีเพิ่มหลายคน และปรากฏว่ามีร้านถ่ายรูปในกรุงเทพฯ มากกว่า 20 แห่ง ที่สำคัญยิ่งคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงสนพระทัยการถ่ายรูปเป็นอันมาก จากพระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 ที่กล่าวถึงการเสด็จเยี่ยมประชาชนในปี พ.ศ. 2449 ทรงแวะถ่ายรูปผู้คนพลเมือง สถานที่เหตุการณ์ทุกหนทุกแห่ง ทรงกล่าวถึงการถ่ายรูปไว้ถึง 50 ครั้ง ส่วนพระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน กล่าวถึงการเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2450 ทรงเอ่ยถึงคำว่าถ่ายรูปและ รูปถ่ายนับร้อยแห่ง เริ่มตั้งแต่เสด็จออกจากประเทศไทย ทรงมีกล้องถ่ายรูปคู่พระหัตถ์คือ กล้องโกแด็กอย่างโปสการ์ด

ร้านถ่ายรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 มีช่างถ่ายรูปและสตูดิโอ ถึง 20 กว่าราย และมีเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์การถ่ายรูปยุคแรกของไทย คือ ทรงจัดให้มีการอวดรูป และประชันรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ในประเทศไทย ในงานไหว้พระพุทธชินราช วัดเบญจมบพิตร ในปี พ.ศ. 2447 และ ปี 2448 ตามลำดับ

ช่างถ่ายรูปในยุคต่อมา คือในสมัยรัชกาลที่ 5 มีเพิ่มหลายคน และปรากฏว่ามีร้านถ่ายรูปในกรุงเทพฯ มากกว่า 20 แห่ง ที่สำคัญยิ่งคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงสนพระทัยการถ่ายรูปเป็นอันมาก จากพระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 ที่กล่าวถึงการเสด็จเยี่ยมประชาชนในปี พ.ศ. 2449 ทรงแวะถ่ายรูปผู้คนพลเมือง สถานที่เหตุการณ์ทุกหนทุกแห่ง ทรงกล่าวถึงการถ่ายรูปไว้ถึง 50 ครั้ง ส่วนพระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน กล่าวถึงการเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2450 ทรงเอ่ยถึงคำว่าถ่ายรูปและ รูปถ่ายนับร้อยแห่ง เริ่มตั้งแต่เสด็จออกจากประเทศไทย ทรงมีกล้องถ่ายรูปคู่พระหัตถ์คือ กล้องโกแด็กอย่างโปสการ์ด

ร้านถ่ายรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 มีช่างถ่ายรูปและสตูดิโอ ถึง 20 กว่าราย และมีเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์การถ่ายรูปยุคแรกของไทย คือ ทรงจัดให้มีการอวดรูป และประชันรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ในประเทศไทย ในงานไหว้พระพุทธชินราช วัดเบญจมบพิตร ในปี พ.ศ. 2447 และ ปี 2448 ตามลำดับ

ช่างถ่ายรูปในยุคต่อมา คือในสมัยรัชกาลที่ 5 มีเพิ่มหลายคน และปรากฏว่ามีร้านถ่ายรูปในกรุงเทพฯ มากกว่า 20 แห่ง ที่สำคัญยิ่งคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงสนพระทัยการถ่ายรูปเป็นอันมาก จากพระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 ที่กล่าวถึงการเสด็จเยี่ยมประชาชนในปี พ.ศ. 2449 ทรงแวะถ่ายรูปผู้คนพลเมือง สถานที่เหตุการณ์ทุกหนทุกแห่ง ทรงกล่าวถึงการถ่ายรูปไว้ถึง 50 ครั้ง ส่วนพระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน กล่าวถึงการเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2450 ทรงเอ่ยถึงคำว่าถ่ายรูปและ รูปถ่ายนับร้อยแห่ง เริ่มตั้งแต่เสด็จออกจากประเทศไทย ทรงมีกล้องถ่ายรูปคู่พระหัตถ์คือ กล้องโกแด็กอย่างโปสการ์ด

ร้านถ่ายรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 มีช่างถ่ายรูปและสตูดิโอ ถึง 20 กว่าราย และมีเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์การถ่ายรูปยุคแรกของไทย คือ ทรงจัดให้มีการอวดรูป และประชันรูปขึ้นเป็นครั้งแรก ในประเทศไทย ในงานไหว้พระพุทธชินราช วัดเบญจมบพิตร ในปี พ.ศ. 2447 และ ปี 2448 ตามลำดับ

อ.พิสิฐ เสนานันท์สกุล ถอดความเขียนไว้ในวารสารธุรกิจการถ่ายภาพ นำเสนอภาพถ่ายประวัติศาสตร์กู้เอกราชชาติไทย ในการเสด็จประวัติศาสตร์กู้เอกราชชาติไทย ในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะในวันที่ 5 กรกฎาคม ร.ศ.116 สมเด็จพระเจ้าเอาเปรอ แห่งกรุงรัสเซีย โปรดเกล้าให้ช่างภาพพระบรมรูป พร้อมกันสองพระองค์ นับว่าเป็นภาพแห่งประวัติศาสตร์ พระเจ้าเอมเปรอ ทรงมีรับสั่งให้ส่งภาพพระบรมรูปคู่กันนี้ ลงในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่ออกในเมืองหลวงของประเทศต่าง ๆ ในแถบยุโรป บังเกิดผลทันทีที่ฝรั่งเศสได้สั่งถอนกำลังทหารของตนออกจากเมืองจันทบุรีและยุติการรุกรานประเทศไทยนับแต่บัดนั้น ...

สมาพันธ์สมาคมการถ่ายภาพแห่งประเทศได้เสนอเรื่อง การเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะพระบิดาแห่งการถ่ายภาพไทย และวันนักถ่ายภาพไทย ไปยังคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เพื่อพิจารณาในปี พ.ศ. 2547

คณะรัฐมนตรีลงมติเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2548 เห็นชอบให้ถวายพระราชสมัญญาแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะ พระบิดาแห่งการถ่ายภาพไทย เพื่อเป็นการเทิด พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อวงการถ่ายภาพไทย และเป็นการแสดงถึงความภาคภูมิใจและเป็นศูนย์รวมน้ำใจของคนในวงการถ่ายภาพ และได้กำหนดให้ วันที่ 21 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็นวัน วันนักถ่ายภาพไทย อ.พิสิฐ เสนานันท์สกุล ถอดความเขียนไว้ในวารสารธุรกิจการถ่ายภาพ นำเสนอภาพถ่ายประวัติศาสตร์กู้เอกราชชาติไทย ในการเสด็จประวัติศาสตร์กู้เอกราชชาติไทย ในการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะในวันที่ 5 กรกฎาคม ร.ศ.116 สมเด็จพระเจ้าเอาเปรอ แห่งกรุงรัสเซีย โปรดเกล้าให้ช่างภาพพระบรมรูป พร้อมกันสองพระองค์ นับว่าเป็นภาพแห่งประวัติศาสตร์ พระเจ้าเอมเปรอ ทรงมีรับสั่งให้ส่งภาพพระบรมรูปคู่กันนี้ ลงในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่ออกในเมืองหลวงของประเทศต่าง ๆ ในแถบยุโรป บังเกิดผลทันทีที่ฝรั่งเศสได้สั่งถอนกำลังทหารของตนออกจากเมืองจันทบุรีและยุติการรุกรานประเทศไทยนับแต่บัดนั้น ...

สมาพันธ์สมาคมการถ่ายภาพแห่งประเทศได้เสนอเรื่อง การเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะพระบิดาแห่งการถ่ายภาพไทย และวันนักถ่ายภาพไทย ไปยังคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เพื่อพิจารณาในปี พ.ศ. 2547

คณะรัฐมนตรีลงมติเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2548 เห็นชอบให้ถวายพระราชสมัญญาแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะ พระบิดาแห่งการถ่ายภาพไทย เพื่อเป็นการเทิด พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อวงการถ่ายภาพไทย และเป็นการแสดงถึงความภาคภูมิใจและเป็นศูนย์รวมน้ำใจของคนในวงการถ่ายภาพ และได้กำหนดให้ วันที่ 21 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็นวัน วันนักถ่ายภาพไทย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น