วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

เคล็ดลับการถ่ายภาพแบบพาโนรามา

จะมีอะไรที่น่าดึงดูดใจเท่ากับการที่คุณได้ประกอบภาพทิวทัศน์ห้าหกภาพ (หรือมากกว่านั้น ) ให้เป็นภาพเดียวกันทั้งหมดในหนึ่งภาพ เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ อย่างไรก็ตามเมื่อคุณสร้างภาพพาโนรามา มันอาจจะง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากหรือมันอาจจะเป็นเหมือนฝันร้ายก็เป็นได้ ซึ่งทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการถ่ายภาพพาโนรามาในครั้งแรก ถ้าคุณถ่ายภาพได้ถูกวิธี โปรแกรม Photoshop ก็จะสร้างภาพของคุณได้อย่างง่ายดาย แต่หากคุณทำผิดวิธีตั้งแต่ ขั้นตอนการถ่ายภาพ คุณก็ต้องเสียเวลาเป็นชั่วโมงเพื่อรวมภาพพาโนเข้าด้วยกัน และวิญญาณของภูตผีปิศาจที่สิงร่างอยู่ในโปรแกรม Photoshop ก็จะหัวเราะเยาะคุณ (ฮ่า ฮ่า ฮ่า) เอาล่ะ ขอแค่เพียงคุณทำตามกฎในการรวมและแยกภาพแบบไร้รอยต่อ ในโปรแกรม Photoshop ตามที่เราได้อธิบายไว้ก็เท่านั้นเอง เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

(1) ถ่ายภาพพาโนบนขาตั้ง หากไม่มีขาตั้ง ซื้อเถอะครับรับรองว่าคุณต้องได้ใช้แน่นอน

(2) ถ่ายภาพในแนวตั้ง(สำหรับภาพบุคคล) หรือถ่ายภาพแนวนอน (สำหรับภาพทิวทัศน์) แล้วถ่ายภาพซ้ำที่เดิมให้มากเข้าไว้ ไม่เพียงแต่คุณจะได้ภาพที่ผิดสัดส่วนน้อยลง แต่ความมานะพยายามของคุณจะทำให้ภาพพาโนดูดีขึ้นได้

(3) ปรับค่า White Balance ที่กล้องของคุณให้เป็น Cloudy หากคุณตั้งค่าเป็น Auto ค่า White Balance อาจจะเปลี่ยนบางส่วนของภาพไป ซึ่งภาพของคุณจะดูแย่มากถึงมากที่สุด

(4) กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งเพื่อตั้งค่า Exposure จากนั้นมองที่ช่องมองภาพ จำค่า F-Stop และความเร็วชัตเตอร์เอาไว้ ตอนนี้ปรับไปที่โหมดแมนวลและใส่จำนวน F-Stop และความเร็วชัตเตอร์เข้าไป หากคุณไม่มีค่าของทั้งสองตัวนี้แล้วถ่ายโดยใช้ค่า Exposure โดยอัตโนมัติที่โหมดใด ๆ ก็ตาม ค่า Exposure อาจจะเปลี่ยนบางส่วนของภาพ และอาจทำให้คุณสติแตกได้เมื่อต้องทำงานในโปรแกรม Photoshop

(1) ทันทีที่คุณโฟกัสไปที่ส่วนแรก ให้คุณปิดออกโต้โฟกัสที่เลนส์ของคุณ วิธีนี้กล้องจะไม่โฟกัสส่วนที่แตกต่างกันอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้ภาพเสียได้

(2) ก่อนที่คุณจะถ่ายภาพส่วนแรก ให้คุณถ่ายภาพหนึ่งโดยใช้นิ้วกดข้างหน้าเลนส์ วิธีนี้คุณจะได้รู้ว่าคุณจะเริ่มถ่ายภาพที่ตรงไหนก่อน และให้ทำวิธีแบบเดียวกันนี้อีกครั้งหลังถ่ายภาพสุดท้าย

(3) ก่อนที่คุณจะถ่ายภาพส่วนแรก ให้คุณถ่ายภาพหนึ่งโดยใช้นิ้วกดข้างหน้าเลนส์ วิธีนี้คุณจะได้รู้ว่าคุณจะเริ่มถ่ายภาพที่ตรงไหนก่อน และให้ทำวิธีแบบเดียวกันนี้อีกครั้งหลังถ่ายภาพสุดท้าย

(4) ให้ภาพแต่ละส่วนเผื่อเนื้อที่ตรงรอยต่อของภาพให้มีรายละเอียดซ้ำกันประมาณ 20 – 25% เพื่อให้แน่ใจว่ามีรายละเอียดของภาพแรกอยู่ที่ประมาณ ¼ ปรากฏขึ้นมาในภาพที่สอง และขอบภาพแต่ละภาพต้องกินเนื้อที่ของภาพแรกอย่างน้อย 20 % เพื่อให้ซอฟท์แวร์ Stitching ของโปรแกรม Photoshop สามารถผนวกภาพเข้าด้วยกันได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

(5) ให้คุณถ่ายภาพให้ถูกต้องและรวดเร็วโดยเฉพาะเมฆที่เคลื่อนไหวหลังภาพทิวทัศน์

(6) ใช้สายลั่นชัตเตอร์ หรืออย่างน้อยใช้ Self Timer เพื่อไม่ทำให้กล้องเคลื่อนไหวคงไม่มีอะไรแย่ไปกว่าส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพเบลออีกแล้ว

ตอนนี้หากคุณทำตามกฎในสองหน้าที่แล้ว กฎที่เหลือนั้นง่ายมาก

ขั้นตอนที่ 1 ให้คุณเปิดโปรแกรม Photoshop จากนั้นเปิดภาพทั้งหมดขึ้นมา

ขั้นตอนที่ 2 ไปที่เมนู File ของโปรแกรม Photoshop ภายใต้คำสั่ง Automate เลือก Photomerge

ขั้นตอนที่ 3 ในกรอบ Photoshop ไปที่เมนู Use ที่ปรากฏขึ้นมา แล้วเลือก Files ดูให้แน่ใจว่าคลิกเครื่องหมายถูกที่กรอบ Attempt to Automatically Arrange Source Images แล้วจากนั้นคลิก OK

ขั้นตอนที่ 4 เมื่อกรอบ Photomerge หลักปรากฏขึ้น มักจะประกอบภาพทุกภาพให้รวมเป็นภาพพาโนรามาที่ไร้รอยต่อ (ตราบใดที่คุณทำตามกฎที่ผมบอกไว้ก่อนหน้านี้) และหากคุณเห็นรอยต่อเล็ก ๆ ที่ด้านบนสุดระหว่างภาพสองภาพ ให้คุณคลิก OK แล้วรอยต่อจะหายไปทันทีที่สร้างภาพสุดท้ายขึ้นมา ถ้ารอยต่อยังไม่หายไป ให้ใช้ Clone Stamp Tool (S) โดยการกดคีย์ Option ค้างไว้ (เครื่อง PC กดคีย์ Alt) แล้วคลิกใกล้พื้นที่ของท้องฟ้าที่ดูคล้ายกับที่พื้นที่นั้น จากนั้นเลือกแรงชนิดขอบเนียน (Soft-edged) จาก Brush Picker แล้วระบาย ที่เหนือรอยต่อเล็ก ๆ เพื่อปิดรอยต่อให้ภาพเนียนขึ้น

หากคุณมีโปรแกรม Photoshop หรือ Photoshop Elements เรามีวิธีสร้างภาพพาโนรามามาให้คุณได้ลองทำกัน โดยให้คุณตัดภาพที่ต้องการให้เป็นภาพแบบพาโนรามา โดยไปที่ Crop Tool (C) แล้วคลิกและลากให้อยู่ตรงกลางของภาพ (ดังภาพด้านบน) โดยตัดทั้งด้านบนสุด และด้านล่างสุดของภาพออกไป จากนั้นกดคีย์ Return (PC : Enter) แล้วภาพทั้งด้านบนและด้านล่างจะถูกตัดออกไปกลายเป็นภาพพาโนรามาจริง ๆ ได้




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น