วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ตัวคูณแสงของแผ่นกรองแสง (Filter factor)

การสวมแผ่นกรองแสงที่หน้าเลนส์ จะทำให้แสงที่ผ่านเข่าเลนส์น้อยลง ฉะนั้นการถ่ายจึงต้องชดเชยให้แสงเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำได้สองกรณี คือ การเปิดช่องรับแสงให้กว้างขึ้น หรือไม่ก็ตั้งความเร็ซชัตเตอร์ให้ต่ำลง

การเพิ่มเวลาการปรับความเร็วชัตเตอร์ให้รับแสงให้นานขึ้น หรือการปรับช่องรับแสงให้กว้างขึ้นนั้น จำเป็นต้องอาศัยตัวคูณของแสงของแผ่นกรองแสง ซึ่งผู้ผลิตจะกำหนดมาให้ว่าแผ่นกรองแสงสีหนึ่ง ๆ นั้นมีตัวคูณแสงเป็นเท่าใด ตามปกติตัวคูณสอง 2 หน่วย มีค่าต่อการปรับขนาดช่องรับแสงประมาณ 1f-stop

ตัวอย่างเช่น แผ่นกรองแสงสีเขียวแกมเหลือง มีตัวคูณแสงเท่ากับ 4 เมื่อนำมาสวมหน้าเลนส์ถ่ายภาพ จะต้องปรับขนาดช่องรับแสง หรือปรับความเร็วชัตเตอร์เท่าใด สมมุติว่าการถ่ายภาพโดยที่ยังไม่ได้สวมแผ่นกรองแสง ปริมาณแสงที่พอดี คือ เปิดช่องรับแสง 11 ความเร็วชัตเตอร์ 1/125 วินาที ถ้าสวมแผ่นกรองแสงสีเขียวแกมเหลืองจะต้องเพิ่มเวลาในการให้แสงโดยการเปิดช่องรับแสงให้กว้างขึ้นอีก 2 f – stop คือเปิดช่องรับแสงที่ 5.6 ใช้ความเร็วชัตเตอร์เท่าเดิม คือ 11 ก็ต้องปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ช้าลงอีก 2 ช่อง คือ 1/30 วินาที จึงจะได้ปริมาณแสงที่พอดี

สำหรับกล้องถ่ายภาพที่มีเครื่องวัดแสงผ่านเลนส์อยู่ในตัว ก็ให้ใช้เครื่องวัดแสงได้เลย โดยไม่ต้องคำนึงถึงตัวคูณของแผ่นกรงอแสง เพราะเครื่องวัดแสงจะวัดแสงที่ผ่านแผ่นกรองแสงนั้นมาแล้ว แต่ต้องตั้งค่าความไวแสงฟิล์มที่ใช้ให้ถูกต้องด้วย

แผ่นกรองแสงสำหรับการถ่ายภาพขาวดำ

ในการถ่ายภาพขาวดำ บางครั้งภาพถ่ายจะปรากฏออกมาไม่เหมือนกับธรรมชาติ หรือเหมือนกับที่ตาเรามองเห็นท้องฟ้ากับก้อนเมฆขาวดูลักษณะตัดกัน แต่ภาพถ่ายจะออกมามีลักษณะกลมกลืน ข้อบกพร่องดังกล่าวสามารถแก้ไขได้โดยใช้แผ่นกรองแสงเข้ามาช่วยเพิ่ม หรือลดค่าแสงสีบางสี ทำให้ได้น้ำหนักของสีขาวและดำตัดกัน สวยงามขึ้น เพราะภาพขาวดำนั้นจะถ่ายทอดค่าของสีออกมาเป็นน้ำหนักอ่อน แก่ ของสีขาว, เทาและดำ แทนค่าของสีต่าง ๆ ตามธรรมชาติ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น