วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ฟิล์ม (Film)

โครงสร้างของฟิล์มขาวดำ

ฟิล์มเป็นส่วนสำคัญในการบันทึกภาพประกอบด้วยชั้นของเยื่อไวแสงที่เคลือบไว้บนฐานรองรับ ซึ่งอาจเป็นอาซีเอท พลาสติกใส หรือกระจก

โครงสร้างของฟิล์มประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1. ส่วนที่เป็นฐานรองรับเยื่อไวแสง (Support) สมัยก่อนใช้เซลลูโลสไนเตรท (Cellulose nitrate) ซึ่งติดไฟได้ง่าย ต่อมาได้ใช้โพลีเอธีลีนเทเรพธาเลต โพลีเอสเตอร์ (Polyethylene terepthalate polyester)

2. ส่วนที่เป็นเยื่อไวแสง (Emulsion) สารเคมีทีสำคัญในการประกอบเป็นเยื่อไวแสงของสารเคมีที่สำคัญในการประกอบเป็นเยื่อไวแสงของฟิล์มถ่ายภาพ คือ เกลือเงินเฮไลด์ (Silver halide) เช่น เงินคลอไรด์ (Siler chloride) เงินโบรไมด์ (Silver bromide) และเงินไอโอไดด์ (Silver iodide) ก่อนฉาบสารไวแสงบนฐานรองรับจะมีชั้นของเยลาติน ซึ่งเป็นวัสดุเหนียวสกัดจากเขาและกระดูกสัตว์คั่นอยู่ก่อน เพื่อให้สารไวแสงยึดแน่นกับฐานรองรับ เรียกเยลาตินชั้นนี้ว่า Subbing layer และเมื่อฉาบสารไวแสงบนฐานรองรับแล้ว จะใช้เยลาตินฉาบที่ผิวบนสุดอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันการถูกขีดข่วน ซึ่งเรียกเยลาตินชั้นบนสุดนี้ว่า Nonstress supercoat

3. ส่วนที่เป็นด้านหลังของฟิล์ม จะฉาบด้วยเยลาตินผสมกับอินทรีย์เพื่อป้องกันการโค้งงอ เนื่องจากการเปียก และการแห้งของเยื่อไวแสง และของเยลาติน นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ป้องกันการเกิดฮาเลชั่น (Halation) คือ การสะท้อนกลับหมดของแสงที่ผิวล่างของฐานรองรับ ทำให้เกิดวงกลมสว่างขึ้นโดยรอบภาพของจุดกำเนิดแสง


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น