วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การทำงานของฟิล์ม

หลังจากที่ฟิล์มถูกฉายแสง (Exposed to light) ในปริมาณที่พอเหมาะ ภาพของวัตถุจะถูกบันทึกไว้ในเยื่อไวแสงในลักษณะของภาพแฝง (Latent image) ซึ่งเป็นภาพที่ยังมองไม่เห็นจนกว่าจะนำไปผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม เมื่อนำฟิล์มผ่านน้ำยาสร้างภาพ (Developer) เฉพาะบริเวณฟิล์มที่ถูกแสงจะเปลี่ยนไป ทำให้เกิดภาพของเงินสีดำ ส่วนบริเวณฟิล์มที่ไม่ถูกแสงยังคงมีเงินเฮไลด์ ซึ่งยังคงไวต่อแสงอยู่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในน้ำยาสร้างภาพ ดังนั้น จึงต้องนำฟิล์มไปล้างต่อในน้ำยาคงภาพ (Fixer) ที่จะทำให้ภาพคงตัว โดยมีไฮโปหรือโซเดียมไธโอซัลเฟต เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ น้ำยานี้จะทำปฏิกิริยากับเงินเฮไลด์ทำให้เงินเฮไลด์หลุดออกจากฟิล์ม คงเหลืออยู่แต่ภาพเงินสีดำ ซึ่งเป็นภาพของวัตถุที่บันทึกมา ส่วนใดจะมีสีดำมาก หรือน้อยแล้วก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของแสงที่ได้รับมา ฉะนั้นลักษณะของภาพที่เกิดในฟิล์ม จึงมีส่วนที่มีสีดำทึบบ้าง สีจางเป็นสีเทาบ้าง ความเข้มของสีในฟิล์มนี้จะมีลักษณะกลับกันกับวัตถุเป็นจริง เช่น ถ้าวัตถุมีสีนี้ จะมีลักษณะกลับกันกับวัตถุเป็นจริง เช่น ถ้าวัตถุมีสีดำ ในฟิล์มจะใสสว่างขาว และถ้าวัตถุมีสีขาว ในฟิล์มจะมีสีดำทึบ จึงเรียกฟิล์มนี้ว่า ฟิล์มเนกาทิฟ (Negative) เมื่อนำฟิล์มนี้ไปอัดขยายบนกระดาษอัดภาพ จะได้สีที่ภาพกลับกันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นภาพจริงเหมือนวัตถุที่ถ่ายมาเรียกว่า ภาพพอซิทิฟ (Positive)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น