วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อุณหภูมิสี (Color temperature)

อุณหภูมิสีเป็นสิ่งสำคัญเป็นพิเศษต่อการถ่ายภาพสี เพราะฟิล์มสีแต่ละชนิดจะผสมสารเพิ่มความไวต่อแสงสีต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน จึงทำให้ฟิล์มสีมีความไวต่อแสงสีต่าง ๆ และมีการผลิตสีของภาพไม่เหมือนกัน ถ้าใช้แหล่งกำเนิดของแสงต่างชนิดกัน

การจำแนกฟิล์มสีตามอุณหภูมิสี อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ

1. ฟิล์มสีชนิดที่ใช้กับแสงแดด (Daylight type) เป็นฟิล์มที่ใช้ถ่ายกับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ฟิล์มชนิดนี้มีอุณหภูมิประมาณ 5,000 – 6,000 องศาเคลวิน ( Kelvin) หรือเค (K) และยังใช้ได้กับแสงจากแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic flash) หลอดแฟลชสีน้ำเงิน (Blue flash bulb) ซึ่งจะทำให้ภาพมีสีสันที่ถูกต้องตามธรรมชาติมากที่สุด

2. ฟิล์มสีชนิดที่ใช้กับหลอดไฟโฟโต้ฟลัด (Photoflood lamp) เป็นฟิล์มที่สมดุลกับแสงที่มีอุณหภูมิ 3,400 องศาเคลวิน เป็นฟิล์มชนิด A (Film type A) หากนำฟิล์มนี้ไปถ่ายกับแสงแดดภาพถ่ายจะมีสีออกทางฟ้า - น้ำเงิน แต่ถ้านำไปถ่ายกับแสงที่มีอุณหภูมิสีต่ำกว่า 3,400 องศาเคลวิน ภาพจะออกสีเหลือง ๆ ฟิล์มชนิดนี้มีตัวอย่าง เช่น ฟิล์มสไลด์สี Kodachrome II, Professional type A เป็นต้น

3. ฟิล์มสีชนิดที่ใช้กับหลอดไฟทังสเตน (Photographic tungsten lamp) เป็นฟิล์มที่สมดุลกับแสงที่มีอุณหภูมิสี 3,200 องศาเคลวัน เป็นฟิล์มชนิด B (Film type B) K หรือ L ใช้ถ่ายภาพกับไฟทังสเตน หรือแสงไฟตามบ้านหากนำฟิล์มชนิดนี้ไปถ่ายกับแสงแดด หรือไฟหลอดโฟโต้ฟลัด ภาพที่ได้จะมีสีออกฟ้า – น้ำเงิน ตัวอย่างฟิล์มชนิดนี้ ถ้าเป็นสีก็มี Kodak Vericolor II Professiional film type L หรือถ้าเป็นสไลด์สีก็เช่น Ektachrome high speed type B (ทั้งที่เป็นฟิล์มม้วน และฟิล์ม 35 มม. ) Ektachrome type B (ชนิดฟิล์มแผ่น) และ Agfachrome 50 L (3,100 องศาเคลวิน) เป็นต้น

เราอาจเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสีของแหล่งกำเนิดแสงใด ๆ ได้ โดยใช้แผ่นกรองแสงที่ตัดแสงสีแดง หรือแสงสีน้ำเงินจากแหล่งกำเนิดแสง เพื่อทำให้อุณหภูมิของแหล่งกำเนิดแสงมีค่าองศาเคลวินสูงขึ้น หรือต่ำลง แผ่นกรองแสงที่ใช้ปรับค่าของอุณหภูมิสี เรียกว่า แผ่นกรองแสงที่ใช้ปรับความสมดุลของแสง (Light balance filter)

ปกติการเลือกฟิล์มสีเพื่อถ่ายภาพต้องคำนึงถึงแสงที่จะใช้ในการถ่ายภาพด้วย โดยเลือกฟิล์มให้มีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิของแหล่งกำเนิดแสง เช่น ถ้าจะถ่ายกับไฟทังสเตนก็ต้องใช้ฟิล์มเอกตาโครม ชนิด B หรืออั๊กฟ่าโครม 50 L แต่ถ้าต้องนำฟิล์มไปถ่ายกับแสงแดดซึ่งมีอุณหภูมิสี 5,500 องศาเคลวิน ก็ต้องใช้แผ่นกรองแสงสีเหลือง เบอร์ 85 B สวมที่หน้าเลนส์ซึ่งหากไม่ใช้แผ่นกรองแสง ภาพที่ได้จะมีสีออกสีฟ้า ตรงกันข้าม หากนำฟิล์มชนิด Daylight ไปถ่ายภาพในห้องที่มีแสงไฟทังสเตน ซึ่งอุณหภูมิสีเพียง 3,200 องศาเคลวิน ก็ต้องใช้แผ่นกรองแสงสีน้ำเงินเบอร์ 80 A สวมที่หน้าเลนส์ มิฉะนั้นภาพที่ได้จะมีสีออกเหลือง ๆ

อุณหภูมิสี

แหล่งกำเนิดแสง

อุณหภูมิสี

แสงกลางวันที่มีท้องฟ้าสีเข้ม

แสงกลางวันที่มีเมฆปกคลุม

แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

แสงอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน

หลอดแฟลชสีน้ำเงิน

แสงอาทิตย์ 2 ชม. หลังจากดวงอาทิตย์ขึ้นและตก

แสงดวงจันทร์

หลอดไฟโฟโต้ฟลัด

หลอดไฟทังสเตน

หลอดไฟบ้าน 100 วัตต์

ดวงอาทิตย์ขึ้น

เปลวเทียน

10000k

-19000k

8000k

6000k

5800k

5500k

4400k

4000k

3400k

3200k

2800k

2500k

1400k

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น