วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การเก็บรักษาฟิล์ม

เนื่องจากฟิล์มเป็นวัสดุไวแสงจึงมักจะบรรจุไว้ในกลัก หรือหุ้มด้วยกระดาษดำ กระดาษโลหะ (Foil) ใส่ในกล่องกระดาษปิดอย่างมิดชิด เพื่อป้องกันมิให้ถูกแสง ก่อนนำไปถ่ายภาพ ในการเก็บรักษาฟิล์มควรทำดังนี้

1. ควรเก็บไว้ในทีมืด

2. ที่เก็บฟิล์มต้องมีความเย็น คือมีอุณหภูมิประมาณ 40 – 50 องศาฟาเรนไฮน์ (4 – 10 องศาเซลเซียส)

3. ไม่ให้ฟิล์มถูกความชื้น ที่เก็บต้องมีอากาศแห้งเสมอ

4. บริเวณที่เก็บฟิล์มต้องปราศจากกัมมันตภาพรังสี หรือไอของสารเคมี เช่น ฟอร์มาลีน, ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า) หรือ แอมโมเนีย เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ตัวอักษร ตัวเลข และรหัสต่าง ๆ บนกล่องฟิล์ม

บริษัทผู้ผลิตฟิล์มชนิดต่าง ๆ จะมีตัวอักษรตัวเลข และรหัสต่าง ๆ บอกไว้ที่กล่องบรรจุฟิล์มเสมอ เพื่อบอกให้ผู้ใช้ลิฟต์ทราบถึงคุณสมบัติ และชนิดของฟิล์มแบบต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อจะได้นำไปใช้ได้ถูกต้อง ตรงกับชนิดของกล้องและวัตถุประสงค์ ตัวอักษร ตัวเลข และรหัสที่ควรทราบ มีดังนี้

1. ยี่ห้องของฟิล์ม เช่น Kodak, Fuji, Agfa, Sakura, Mitsubishi, Ilford และ Konica

2. ตัวเลขบอกรหัสของฟิล์มและจำนวนภาพ

CN 135 – 36 หมายความว่า เป็นฟิล์มสี (No. 135) สำหรับกล้อง 35 มม. จำนวน 36 ภาพ

EB 135 -36 หมายความว่า เป็นฟิล์มสไลด์สี Daylight (No.135) สำหรับกล้อง 35 มม. จำนวน 36 ภาพ

EPP 120 – 20 หมายความว่า เป็นฟิล์มสไลด์สี Daylight (No. 120 ) สำหรับกล้อง 120 ขนาด 6 x 6 ซม. จำนวน 12 ภาพ

ET 135 – 36 หมายความว่า เป็นฟิล์มสไลด์สี Tungsten (No.135) สำหรับกล้อง 35 มม. จำนวน 36 ภาพ

3. ตัวอักษรบอกชนิดของฟิล์ม เช่น ฟิล์มสี Negative มักมีคำว่า color เช่น Kodakcolor, Fujicolor, Mitsubishicolor, Sakuracolor. ฟิล์มสี Positive หรือ Slide มักมีคำว่า “Chrome” อยู่ด้วย เช่น Ektachrome, Fujichrome, Agfachrome เป็นต้น

สำหรับฟิล์มขาวดำมักจะมีคำว่า “Pan” ซึ่งมาจากคำว่า Panchromatic film เช่น Kodak Verichrome pan, Agfa lsopan, Fuji Neopan เป็นต้น

4. ความไวแสงฟิล์ม (Film speed) ฟิล์มทุกชนิดจะมีค่าความไวแสงฟิล์มบอกไว้ เช่น ASA/ISO 100 DIN 21, ISO 400, ISO200, JIS 100 เป็นต้น

5. วันหมดอายุของฟิล์ม (Film expiration) ได้แก่ตัวเลขและตัวอักษรบอกเดือนปีที่ฟิล์มหมดอายุ เช่น 12 2008 หรือ DEC. 2008 หมายความว่า ฟิล์มม้วนนี้จะหมดอายุการใช้งานเดือนธันวาคม ปี ค.ศ.2008 เป็นต้น

ในปัจจุบัน เราจะพบว่าที่กล้องและกลักบรรจุฟิล์มจะมีแถบโค๊ต DX ซึ่งจะทำหน้าที่บอกให้กล้องถ่ายภาพ (เฉพาะกล้องที่มีระบบ DX เท่านั้น) รู้ว่าฟิล์มที่ใช้มีค่าความไวแสงฟิล์มเท่าใด โดยที่กล้องจะปรับค่าความไวแสงฟิล์มโดยอัตโนมัติ

การถอดฟิล์มออกจากกล้อง

หลังจากถ่ายภาพจนหมดม้วนแล้ว ให้กดปุ่มถอยหลัง (Rewind knob) ซึ่งจะอยู่ใต้ฐานของกล้อง แล้งหมุนที่แกนส่งฟิล์มกลับ จนฟิล์มกลับเข้าไปในกลักจนหมดม้วน จากนั้นจึงค่อยเปิดฝากล้อง แล้วจึงนำฟิล์มออกมา เพื่อไปผ่านกระบวนการล้างอัดขยายต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การบรรจุฟิล์มเข้าเครื่อง

กล้องแต่ละชนิดที่ผลิตขึ้นมาจะใช้กับฟิล์มแต่ละขนาดแตกต่างกันออกไป การบรรจุฟิล์มในกล้องถ่ายภาพจึงแตกต่างกันไปด้วย ฉะนั้นจึงควรศึกษาส่วนประกอบต่าง ๆ ของกล้อง การปรับ การควบคุม การบรรจุฟิล์ม ตลอดจนการถอดฟิล์มออกจากกล้อง จากคู่มือ ซึ่งจะติดมากับตัวกล้องให้เข้าใจเสียก่อน ส่วนใหญ่นั้นจะมีวิธีการที่คล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันไปบ้างตามชนิดของกล้องแต่ละตัว ก็เพียงรายละเอียด

ในการบรรจุฟิล์มเข้ากล้อง (ฟิล์ม 35 มม.) พอมีเรื่องที่จะแนะนำดังนี้

1. เปิดฝากล้องด้านหลัง ซึ่งเป็นที่ใส่ฟิล์มออก บรรจุฟิล์มเข้ากล้องควรทำในที่ร่มเพื่อป้องกันแสงถูกฟิล์ม

2. ดึงปลายฟิล์มเสียบเข้าที่แกนรับฟิล์มให้แน่น หมุนฟิล์มให้หนามเตยเกี่ยวรูหนามเตยทั้ง 2 ขอบ ฟิล์มให้เรียบร้อย และปิดฝากล้องให้สนิทการจับฟิล์มให้จับที่ขอบของฟิล์ม และให้สังเกตว่าด้านเยื่อไวแสงของฟิล์มต้องหันไปทางหน้ากล้อง

3. ขึ้นกลไกเลื่อนฟิล์มกดไกชัตเตอร์ให้ตัวเลขบอกฟิล์ม ปรากฏขึ้นที่เลข 1 ขณะหมุนฟิล์มควรตรวจสอบดูว่าแกนส่งฟิล์มในกล้องหมุนตามแกนรับฟิล์มหรือไม่ ถ้าแกนส่งฟิล์มไม่หมุนตาม แสดงว่าฟิล์มไม่เคลื่อนที่ ปลายฟิล์มอาจหลุดจากแกนรับฟิล์ม หรือรูหนามเตยของฟิล์มอาจขาด จึงต้องถอดฟิล์มออกมาแล้ว ต้องใส่ฟิล์มใหม่

วันพุธที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความเปรียบต่าง ๆ (Contrast) และ เนื้อ (Grain) ของฟิล์ม

ฟิล์มที่สามารถให้ภาพที่มีน้ำหนักของสี ระหว่างสีขาวกับสีดำหลายระดับ คือ ขาว เทาอ่อน เท่า ปานกลาง เท่าแก่ และดำ เรียกฟิล์มนั้นว่า ฟิล์มมีความเปรียบต่างต่ำ ผลึกของเกลือเงิน ซึ่งเป็นวัสดุไวแสงที่เคลือบอยู่บนผิวฟิล์มจะมีขนาดต่างกันตั้งแต่ขนาดเล็ก ปานกลาง และขนาดใหญ่มีพื้นที่ในการรับแสงได้มาก ฟิล์มจึงมีค่าความไวแสงฟิล์มสูง เนื้อของฟิล์มค่อนข้างหยาบ ให้ความคมชัดของภาพดีพอสมควร เหมาะสำหรับนำไปถ่ายภาพในที่ ๆ มีแสงสว่างน้อย ส่วนฟิล์มที่ให้ภาพที่มีสีขาวกับสีดำตัดกันมาก เรียกฟิล์มนั้นว่า ฟิล์มที่มีความเปรียบต่างสูง ผลึกของเกลือเงินที่ฉาบผิว ฟิล์มจะมีขนาดเล็ก และเท่า ๆ กัน มีพื้นที่ในการรับแสงได้น้อย ฟิล์มจึงมีค่าความไวแสงฟิล์มต่ำ เนื้อของฟิล์มจะละเอียด ให้ความคมชัดและแสดงรายละเอียดของภาพได้ดี สามารถนำไปขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ได้ โดยที่ Grain ไม่แตก เหมาะสำหรับนำไปถ่ายภาพในที่ที่มีแสงสว่างน้อย

การวัดเนื้อของฟิล์ม จะใช้เครื่องมือวัดที่เรียกว่า Densitometer มีหน่วยวัดเป็น RMS ตัวเลขของ RMS ยิ่งน้อย แสดงว่าฟิล์มมี Grain ละเอียด

อุณหภูมิสี (Color temperature)

อุณหภูมิสีเป็นสิ่งสำคัญเป็นพิเศษต่อการถ่ายภาพสี เพราะฟิล์มสีแต่ละชนิดจะผสมสารเพิ่มความไวต่อแสงสีต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน จึงทำให้ฟิล์มสีมีความไวต่อแสงสีต่าง ๆ และมีการผลิตสีของภาพไม่เหมือนกัน ถ้าใช้แหล่งกำเนิดของแสงต่างชนิดกัน

การจำแนกฟิล์มสีตามอุณหภูมิสี อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ

1. ฟิล์มสีชนิดที่ใช้กับแสงแดด (Daylight type) เป็นฟิล์มที่ใช้ถ่ายกับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ฟิล์มชนิดนี้มีอุณหภูมิประมาณ 5,000 – 6,000 องศาเคลวิน ( Kelvin) หรือเค (K) และยังใช้ได้กับแสงจากแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic flash) หลอดแฟลชสีน้ำเงิน (Blue flash bulb) ซึ่งจะทำให้ภาพมีสีสันที่ถูกต้องตามธรรมชาติมากที่สุด

2. ฟิล์มสีชนิดที่ใช้กับหลอดไฟโฟโต้ฟลัด (Photoflood lamp) เป็นฟิล์มที่สมดุลกับแสงที่มีอุณหภูมิ 3,400 องศาเคลวิน เป็นฟิล์มชนิด A (Film type A) หากนำฟิล์มนี้ไปถ่ายกับแสงแดดภาพถ่ายจะมีสีออกทางฟ้า - น้ำเงิน แต่ถ้านำไปถ่ายกับแสงที่มีอุณหภูมิสีต่ำกว่า 3,400 องศาเคลวิน ภาพจะออกสีเหลือง ๆ ฟิล์มชนิดนี้มีตัวอย่าง เช่น ฟิล์มสไลด์สี Kodachrome II, Professional type A เป็นต้น

3. ฟิล์มสีชนิดที่ใช้กับหลอดไฟทังสเตน (Photographic tungsten lamp) เป็นฟิล์มที่สมดุลกับแสงที่มีอุณหภูมิสี 3,200 องศาเคลวัน เป็นฟิล์มชนิด B (Film type B) K หรือ L ใช้ถ่ายภาพกับไฟทังสเตน หรือแสงไฟตามบ้านหากนำฟิล์มชนิดนี้ไปถ่ายกับแสงแดด หรือไฟหลอดโฟโต้ฟลัด ภาพที่ได้จะมีสีออกฟ้า – น้ำเงิน ตัวอย่างฟิล์มชนิดนี้ ถ้าเป็นสีก็มี Kodak Vericolor II Professiional film type L หรือถ้าเป็นสไลด์สีก็เช่น Ektachrome high speed type B (ทั้งที่เป็นฟิล์มม้วน และฟิล์ม 35 มม. ) Ektachrome type B (ชนิดฟิล์มแผ่น) และ Agfachrome 50 L (3,100 องศาเคลวิน) เป็นต้น

เราอาจเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสีของแหล่งกำเนิดแสงใด ๆ ได้ โดยใช้แผ่นกรองแสงที่ตัดแสงสีแดง หรือแสงสีน้ำเงินจากแหล่งกำเนิดแสง เพื่อทำให้อุณหภูมิของแหล่งกำเนิดแสงมีค่าองศาเคลวินสูงขึ้น หรือต่ำลง แผ่นกรองแสงที่ใช้ปรับค่าของอุณหภูมิสี เรียกว่า แผ่นกรองแสงที่ใช้ปรับความสมดุลของแสง (Light balance filter)

ปกติการเลือกฟิล์มสีเพื่อถ่ายภาพต้องคำนึงถึงแสงที่จะใช้ในการถ่ายภาพด้วย โดยเลือกฟิล์มให้มีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิของแหล่งกำเนิดแสง เช่น ถ้าจะถ่ายกับไฟทังสเตนก็ต้องใช้ฟิล์มเอกตาโครม ชนิด B หรืออั๊กฟ่าโครม 50 L แต่ถ้าต้องนำฟิล์มไปถ่ายกับแสงแดดซึ่งมีอุณหภูมิสี 5,500 องศาเคลวิน ก็ต้องใช้แผ่นกรองแสงสีเหลือง เบอร์ 85 B สวมที่หน้าเลนส์ซึ่งหากไม่ใช้แผ่นกรองแสง ภาพที่ได้จะมีสีออกสีฟ้า ตรงกันข้าม หากนำฟิล์มชนิด Daylight ไปถ่ายภาพในห้องที่มีแสงไฟทังสเตน ซึ่งอุณหภูมิสีเพียง 3,200 องศาเคลวิน ก็ต้องใช้แผ่นกรองแสงสีน้ำเงินเบอร์ 80 A สวมที่หน้าเลนส์ มิฉะนั้นภาพที่ได้จะมีสีออกเหลือง ๆ

อุณหภูมิสี

แหล่งกำเนิดแสง

อุณหภูมิสี

แสงกลางวันที่มีท้องฟ้าสีเข้ม

แสงกลางวันที่มีเมฆปกคลุม

แฟลชอิเล็กทรอนิกส์

แสงอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน

หลอดแฟลชสีน้ำเงิน

แสงอาทิตย์ 2 ชม. หลังจากดวงอาทิตย์ขึ้นและตก

แสงดวงจันทร์

หลอดไฟโฟโต้ฟลัด

หลอดไฟทังสเตน

หลอดไฟบ้าน 100 วัตต์

ดวงอาทิตย์ขึ้น

เปลวเทียน

10000k

-19000k

8000k

6000k

5800k

5500k

4400k

4000k

3400k

3200k

2800k

2500k

1400k

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ละติจุดของฟิล์ม (Film latitude)

ละติจูดของฟิล์ม หมายถึง ค่าความแตกต่างในการรับแสงของฟิล์ม หรือช่วงความกว้างในการรับแสงของฟิล์ม หรือช่วงความกว้างในการรับแสงของฟิล์ม เป็นความสามารถของฟิล์มที่จะชดเลขการรับแสง แม้ว่าการถ่ายภาพจะปล่อยแสงให้ Over หรือ Under ไปก็ตาม ฟิล์มก็ยังสามารถนำมาล้างอัดขยายได้ภาพที่สมบูรณ์ได้

ข้อสังเกตเกี่ยวกับช่วงความกว้างในการรับแสงของฟิล์ม

1. ฟิล์มขาวดำจะมีช่วงความกว้างในการรับแสงของฟิล์มมากกว่าฟิล์มสี และฟิล์มสไลด์สีตามลำดับ

2. ฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มต่ำ เช่น ISO 50 หรือ ISO 64 จะมีช่วงความกว้างในการรับแสงของฟิล์มน้อยกว่าฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มสูง เช่น ISO 200 หรือ ISO 400 เป็นต้น

ฉะนั้นในการถ่ายภาพควรนำข้อมูลข้างต้น มาพิจารณาด้วย เช่น ฟิล์มขาว ดำ ISO 100 – 125 สามารถถ่ายภาพให้ Over หรือ Under ได้ถึง 1 – 2 สตอป ภาพก็จะไม่เสีย แต่ถ้าเป็นสไลด์สี ISO 64 หรือต่ำกว่าควรวัดแสงให้พอดีจะถ่ายภาพให้ Over หรือ Under ก็ไม่ควรเกิน 1 สตอป มิฉะนั้นจะทำให้ภาพที่ได้มีลักษณะซีดจางหรือมืดเกินไป

สภาพไวต่อแสงสี (Color sensitivity)

ฟิล์มแต่ละชนิดจะมีสภาพไวต่อแสงสีต่างกัน ดังนี้

1. ฟิล์มแพน (Panchromatic film) ได้แก่ ฟิล์มที่สามารถบันทึกแสงสีทุกแสงสีได้ใกล้เคียงกับที่ตาเรามองเห็น จึงเป็นฟิล์มขาว – ดำที่นิยมใช้ในการถ่ายภาพโดยทั่วไป

2. ฟิล์มออโท (Orthochromatic film) หรือบางทีก็เรียกว่า ฟิล์มลิท (Lith film) เป็นฟิล์ม High contrast หรือฟิล์มขาวจัด- ดำจัด ที่มีความไวต่อแสงทุกสี ยกเว้นแสงสีแดง จึงสามารถล้างฟิล์มชนิดนี้ได้ภายใต้แสงนิรภัย (Safelight) สีแดงได้ ฟิล์มออโทหรือฟิล์มลิธ เหมาะสำหรับการถ่ายภาพเพื่อการพิมพ์ เช่น ภาพลายเส้น ภาพฮาล์ฟโทน หรือภาพลายสกรีน เป็นต้น

3. ฟิล์มบอดสี (Blue – sensitive film) เป็นฟิล์มที่บอดสีอื่นทุกสี ยกเว้นสีน้ำเงินเพียงสีเดียว เหมาะสำหรับงานก๊อบปี้ภาพลายเส้น ขาวจัด – ดำจัด ใช้เพื่อการทำแม่พิมพ์ (Block)

4. ฟิล์มอินฟราเรด (Infra – red film) ฟิล์มทั่วๆ ไป มักจะบันทึกแสงสีในสเปคตรัม ซึ่งเป็นแสงสีที่เราสามารถมองเห็นได้ ส่วนฟิล์มอินฟราเรดเป็นฟิล์มที่สามารถบันทึกแสงสีที่อยู่เลยช่วงแสงสีแดงเรียกอินฟราเรด มีทั้งฟิล์มสีและขาว – ดำ เหมาะสำหรับการนำไปบันทึกภาพทางการเกษตร ทางการแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์ และการถ่ายภาพทางอากาศ เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความไวแสงฟิล์ม (Film speed)

ความไวแสงฟิล์มแบ่งได้เป็น 4 ระดับ คือ

1. ฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มต่ำ (Low speed film) ได้แก่ ฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มประมาณ ISO 25 – 64 ฟิล์มประเภทนี้จะฉาบเยื่อไวแสงไว้บาง ๆ และมีเม็ดเกลือเงินขนาดเล็ก ทำให้เนื้อของฟิล์ม (grain) ละเอียด ให้ความคมชัดของรายละเอียดต่าง ๆ ในการถ่ายภาพได้ดีมาก เหมาะสำหรับการถ่ายภาพในที่ ๆ มีแสงสว่างมาก สามารถนำฟิล์มไปขยายให้มีขนาดใหญ่ได้

2. ฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มปานกลาง (Normal or Medium speed film) ได้แก่ ฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มประมาณ 80 – 125 ISO เหมาะสำหรับถ่ายภาพทั่วๆ ไปในที่ ๆ มีแสงสว่างปานกลาง เนื้อของฟิล์มละเอียดพอสมควร ให้ความคมชัดของรายละเอียดต่าง ๆ ในการถ่ายภาพได้ดี

3. ฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มสูง (High or fast speed film) ได้แก่ ฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มประมาณ 160 – 400 ISO มีคุณภาพของเกรนเนื้อฟิล์มค่อนข้างหยาบ ไม่เหมาะที่จะนำฟิล์มไปขยายภาพให้มีขนาดใหญ่มาก ๆ เพราะเกรนของภาพจะแตก ฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มสูงจะทำปฏิกิริยากับแสงได้เร็ว และได้รับแสงมากจึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพในที่ที่ มีแสงสว่างน้อย

4. ฟิล์มที่มีความไวแสงฟิล์มสูงพิเศษ (Ultra fast speed film) เป็นฟิล์มที่ผลิตขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ มีความไวแสงฟิล์มสูงตั้งแต่ 1600 ISO ขึ้นไป เหมาะสำหรับการนำไปถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อยมาก เช่น ในงานคอนเสิร์ตหรือต้องการถ่ายภาพที่มีการเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้สูง

ฟิล์มแต่ละชนิดจะมีความไวแสงฟิล์มในการทำปฏิกิริยากับแสงเพื่อบันทึกภาพได้ช้า หรือเร็วแตกต่างกันค่าของความไวแสงฟิล์มที่แตกต่างกันนี้ จะมีผลต่อการเลือกปรับขนาดช่องรับแสง และความเร็วชัตเตอร์ในการถ่ายภาพเป็นอย่างมาก

ค่าความไวแสงฟิล์ม มีหน่วยที่ใช้กันอยู่หลายระบบ คือ

1. ระบบอเมริกาใช้หน่วย ASA (America standards association) และระบบสากลใหม่ ใช้ ISO (International standards organization) มีอัตราความไวแสงต่อหน่วยเท่ากับ ASA

2. ระบบเยอรมันใช้หน่วย DIN (Deutsche industries norm)

3. ระบบรัสเซีย ใช้หน่วย GOST (Gosudurstvenny of standards)

4. ระบบญี่ปุ่น ใช้หน่วย JIS มีอัตราความไวแสงฟิล์มต่อหน่วยเท่ากับ ISO

ลักษณะและขนาดของฟิล์ม

ฟิล์มที่ผลิตออกมาจำหน่ายในปัจจุบัน มีหลายลักษณะตามชนิดของกล้องถ่ายภาพ กล้องคอมแพค และกล้อง SLR จะใช้ฟิล์ม 35 มม. กล้องขนาดกลางจะใช้ฟิล์ม 120 ส่วนที่เป็นกล้องขนาดใหญ่หรือกล้องวิว จะใช้ฟิล์มแผ่น มีขนาดต่าง ๆ กัน เช่น 4 x 5 นิ้ว ส่วนกล้องถ่ายภาพรุ่นเก่าที่ใช้กับฟิล์ม 110 และฟิล์ม 126 ในปัจจุบันไม่มีจำหน่ายแล้ว

ฟิล์ม 135 เป็นฟิล์มที่บรรจุในตลับหรือในหลอด เป็นฟิล์มที่รู้จัก และใช้กันอย่างแพร่หลาย ขนาดความกว้างของฟิล์ม 35 มม. มีความยาวต่างกัน เช่น ถ่ายภาพได้ 24 ภาพ ( 135 – 24 ) และ 36 ภาพ ( 135 – 36 ) ถ้าใช้กล้องที่สามารถแบ่งฟิล์มได้ จะได้จำนวนภาพมากขึ้นไปอีกเป็น 2 เท่า เรียกว่าแบบครึ่งเฟรม (Half frame) ขนาดของภาพที่ฟิล์ม 18 x 24 มม. และถ้าเป็นแบบเต็มเฟรม (Full frame) จะมีขนาดของภาพ 24 x 36 มม.

ฟิล์ม 120 เป็นฟิล์มแบบม้วน มีหลายลักษณะ เช่น

2 x 2 นิ้ว เป็นขนาดดั้งเดิม มีขนาดของภาพในฟิล์ม 60 x 60 มม.

6 x 7 ซม. มีขนาดของภาพในฟิล์ม 60 x 70 มม.

6 x 4.5 ซม. มีขนาดของภาพในฟิล์ม 60 x 45 มม.

6 x 9 ซม. มีขนาดของภาพในฟิล์ม 60 x 95 มม.

ฟิล์มอินสแตนท์หรือฟิล์มโพลารอยด์ เป็นฟิล์มอีกชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบรรจุอยู่ในห่อ ห่อละ 10 บาท